รับจำนอง ขายฝากบ้านที่ดิน
| ขายฝากบ้าน | ขายฝากที่ดิน ขายฝากคอนโด | ขายฝากบ้านเดี่ยว ขายฝากบ้านแฝด | จำนองบ้าน จำนองที่ดิน จำนองคอนโด |
www.ttlland.com ดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน ติดต่อ 087-0005-610 คุณข้าว

จำนอง-ขายฝาก "ยุติธรม ซื่อสัตย์ ไม่โกง"


• เอกสารขอจดทะเบียนสำหรับบุคคลธรรมดา
1. โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองทำประโยชน์
2. บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
3. ทะเบียนบ้าน
4. หลักฐาน การเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล
5. ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า มรณะบัตรคู่สมรส
6. หนังสือยินยอมให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส
7. ถ้ามีการแปลงสัญชาติให้นำหลักฐานการแปลงสัญชาติมาด้วย


• ความหมายของการจำนอง
• จำนอง คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนอง” เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาต ให้จำนองได้ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้ จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง (ป.พ.พ. มาตรา 702)
• ตัวอย่าง นายเอกได้กู้เงินจากนายโทเป็นจำนวน 2 แสนบาท โดยนายเอกได้นำที่ดินของตนจำนวน 1 แปลง ไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวน 2 แสนบาท ที่นายเอกได้กู้ไป จากนายโท โดยนายเอกไม่ต้องส่งมอบที่ดินของตนให้แก่นายโท นายเอกยังคงมีสิทธิครอบครองและใช้สอยที่ดินของ ตนได้ตามปกติ

• การจำนองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนองนั้น แบ่งออกเป็น 6 กรณีคือ
1. การจำนองทรัพย์ของตนเองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของตนเอง
• ตัวอย่าง นายเอก ได้กู้เงินจากนายโท 2 แสนบาทโดยนายเอกนำที่ดินซึ่งเป็นของตนเองไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้ของนายเอกเอง

2. การจำนองเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น
• ตัวอย่างนายเอกได้กู้เงินจากนายโท เป็นจำนวนเงิน 2 แสนบาท โดยนายตรีได้นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท

ทรัพย์สินที่อาจใช้ในการจำนองได้
• ตัวอย่างอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน หรือสิ่งปลูกสร้างทุกชนิดอันติดอยู่กับที่ดินนั้น

• หลักเกณฑ์ในการจำนอง
1. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในทรัพย์ที่จะจำนอง
2. สัญญา จำนอง ต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นสัญญาจำนองตก เป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันแก่คู่สัญญาแต่อย่างใด ในการกู้ยืมเงินนั้นมีอยู่เสมอ ที่ผู้กู้ได้นำเอาโฉนดที่ดินของตนไปมอบ ให้แก่ผู้ให้กู้เก็บรักษาไว้เฉยๆ เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ โดยไม่มีการทำเป็นหนังสือและไม่ได้นำไปจด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่การจำนอง ผู้ให้กู้หาได้มีสิทธิใดๆ ในที่ดินตามโฉนดแต่อย่างใด คงได้แต่เพียงกระดาษโฉนดไว้ในครอบครองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าผู้ให้กู้ประสงค์ที่จะให้เป็นการจำนองตามกฎหมายแล้ว จะต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
3. ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจรับจดทะเบียนจำนองตามกฎหมาย กล่าวคือ
ก. ที่ดินที่มีโฉนดต้องนำไปจดทะเบียนที่กรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร (สาขา) หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด (สาขา) ซึ่งที่ดินนั้นต้องอยู่ในเขตอำนาจ
ข. ที่ดินที่ไม่มีโฉนด ได้แก่ที่ดิน น.ส. 3 ต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจ
ค. การจำนองเฉพาะบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างไม่รวมที่ดินต้องไปจดทะเบียนจำนองที่อำเภอ

• ขอบเขตของสิทธิจำนอง
ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองได้เฉพาะทรัพย์ที่จดทะเบียนจำนองเท่านั้น จะไปบังคับถึงทรัพย์สินอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนจำนองไม่ได้ เช่น จำนองเฉพาะที่ดินย่อมไม่ครอบถึงโรงเรือนหรือบ้านที่ปลูกภายหลังวันจำนองเว้น แต่จะได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้าว่าให้รวมถึงบ้านและโรงเรือนดังกล่าวด้วย
- จำนองเฉพาะบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินของคนอื่น ก็มีสิทธิเฉพาะบ้านเท่านั้น
- จำนองย่อมไม่ครอบคลุมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินซึ่งจำนอง เช่น จำนองสวนผลไม้ดอกผลที่ได้จากสวนผลไม้ยังคงเป็นกรรมสิทธิของผู้จำนองอยู่

• ทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่นี้ ย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ดังต่อไปนี้คือ
1. เงินต้น
2. ดอกเบี้ย
3. ค่าเสียหายในการไม่ชำระหนี้ เช่นค่าทนายความ
4. ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนอง

• การชำระหนี้จำนอง
การ ชำระหนี้จำนองทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ดี การระงับหนี้จำนองไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ดีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อ ตกลงในการจำนองก็ดี กฎหมายบังคับให้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้น แล้วจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคล ภายนอกไม่ได้
ตัวอย่าง นายเอกจำนองที่ดินของตนไว้กับนายโท ต่อมานายโทยอมปลดจำนองที่ดินดังกล่าวให้แก่นายเอก แต่ ทั้งสองฝ่ายมิได้ไปจดทะเบียนการปลดจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อมานายโทโอน การจำนองให้นายจัตวาโดย จดทะเบียนถูกต้อง แล้วนายจัตวาได้บังคับจำนองที่ดินแปลงนี้ นายเอกจะยกข้อต่อสู้ว่านายโทปลดจำนองให้แก่ตนแล้ว ขึ้นต่อสู้กับนายจัตวาไม่ได้

• ขายฝากคืออะไร
๑. ขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนด ทรัพย์สินที่ขายฝากถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์จะกำหนดเวลาขายฝากกันเท่าใดก็ได้ แต่จะเกินสิบปีไม่ได้ ถ้าไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนก็ต้องไถ่คืนภายในสิบปี กำหนดเวลาไถ่นี้เป็นเรื่องของช่วงเวลา เช่น ขายฝาก มีกำหนด ๒ ปี ผู้ขายฝากจะไถ่คืนเมื่อใดก็ได้ ไม่ต้องรอจนครบ ๒ ปี แต่ถ้าผู้ขายฝากไม่ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สิน ภายในกำหนดเวลาย่อมหมดสิทธิไถ่ ทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป(เว้นแต่จะเป็นกรณีตกลงซื้อขายกันใหม่) และมีผลทำให้ กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด
๒.สัญญาขายฝากที่กำหนดเวลาไถ่ไว้ต่ำกว่าสิบปี ก่อนครบกำหนดเวลาไถ่ หากผู้ขายฝากเห็นว่า ไม่ อาจใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดเวลาได้ ควรทำความตกลงกับผู้ซื้อฝากเพื่อขอขยายกำหนดเวลาไถ่การขยายกำหนดเวลา ไถ่อย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ซื้อ ฝาก และควรนำข้อตกลงดังกล่าว มาจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ โดยผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากต้องมาดำเนินการจดทะเบียนด้วยกันทั้งสองฝ่าย ในกรณีที่ขอจดทะเบียนเมื่อพ้น กำหนดเวลาไถ่ไปแล้วจะต้องมีหนังสือหรือหลักฐาน เป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ซื้อฝากที่ได้ทำขึ้นก่อนสิ้นสุดกำหนด เวลาไถ่มา แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยกรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด
๓. การจดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝากเป็นคนละส่วนกับการใช้สิทธิไถ่ เพราะการจดทะเบียนไถ่ถอน จากขายฝากจะกระทำเมื่อใดก็ได้ แต่การใช้สิทธิไถ่ต้องกระทำภายในกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาขายฝาก โดยนำสินไถ่ ส่งมอบแก่ผู้ซื้อฝากภายในกำหนดเวลาไถ่ ถ้าไม่สามารถตามตัวผู้ซื้อฝากได้ หรือ ผู้ซื้อฝากหลีกเลี่ยงไม่ยอมให้มีการ ไถ่ ให้นำสินไถ่ไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาไถ่โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้ การวางทรัพย์ ในส่วนกลางให้วาง ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ในส่วนภูมิภาค ณ สำนักงานบังคับคดี และวางทรัพย์ภูมิภาค หรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัด สำหรับจังหวัดที่ไม่มีสำนักงานบังคับคดีตั้งอยู่ ให้ติดต่อจ่าศาล ของศาลจังหวัดนั้น ๆ เพื่อจัดส่งแก่สำนักงานบังคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคต่อไป อย่างไรก็ดีเมื่อใช้สิทธิไถ่แล้ว ควรรีบมา ขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเร็ว หากทิ้งไว้อาจเกิดความเสียหายได้
      **เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้ว กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ขายฝากทันที ผู้ขายฝากจึงชอบที่จะนำหลักฐาน เป็นหนังสือจากผู้ซื้อฝากแสดงว่าได้มีการไถ่ ถอนจากขายฝากต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่เพียงฝ่ายเดียวได้ ในกรณีวาง ทรัพย์แล้วไม่ได้หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมา ให้นำหลักฐานการวางทรัพย์มาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อหมายเหตุ กลัดติด ไว้ในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดิน และลงบัญชีอายัดให้ทราบถึงการวางทรัพย์ ทั้งนี้เพื่อ ป้องกันมิให้ผู้ซื้อฝากซึ่งมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ทำการจด ทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อไป
๔. การคำนวณระยะเวลาว่าสัญญาขายฝากจะครบกำหนดเมื่อใด ให้นับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรก กล่าวคือ ถ้า ทำสัญญาขายฝากมีกำหนด ๑ ปี เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๐ ก็ต้องครบกำหนด ๑ ปี ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๑
๕. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขายฝากแตกต่างจากจำนอง กล่าวคือ ในการจดทะเบียนขายฝาก จะต้อง ชำระค่าธรรมเนียมเป็นค่าจดทะเบียนขายฝากในอัตราร้อยละ ๒ ของราคา ประเมินทุนทรัพย์ ตามที่คณะกรรมการ กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด นอกจากนี้ยังต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ ตามประมวล รัษฎากร อีกด้วย ส่วนการจดทะเบียนจำนองผู้ขอจดทะเบียนจะเสียค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑ ตามจำนวนทุนทรัพย์ ที่จำนอง อย่างสูงไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือในอัตราร้อยละ ๐.๕ อย่างสูงไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ในกรณีจำนองสำหรับการให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรของสถาบันการเงินที่รัฐมนตรีกำหนด การจำนองไม่ต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร ส่วนอากรแสตมป์ พนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บต่อเมื่อสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินด้วย


• ภาษีค่าธรรมเนียม

1.หากชำระเงินล่าช้า ไม่มีการคิดค่าปรับ ไม่เรียกชำระภายใน 60 วันหลังการกู้ยืม

2.ระยะเวลาการทำสัญญาตั้งแต่ 3 เดือน จนถึง 10 ปี หากไม่สามารถไถ่ถอนตามเวลาที่กำหนด สามารถขยายสัญญาต่อไปได้

3.ข้อมูลของลูกค้าเก็บเป็นความลับ

4.อัตราดอกเบี้ย 15% ต่อปี ตลอดสัญญา


ติดต่อสอบถามเรา

ยอดกู้ตามจริง ดอกเบี้ย 1% ตามจริง
รับเงินสดต่อหน้าเจ้าที่พนักงาน


จำนอง,รับจำนอง,ขายฝาก,จำนองบ้าน,จำนองที่ดิน,จำนองที่ดินเปล่า,จำนำ,รับขายฝาก,รับจำนองบ้าน,รับขายฝาก,รีไฟแนนซ์,จำนองบ้านเดี่ยว,จำนองที่ดิน,รับฝากขาย,รับฝากขายบ้าน,นายทุนรับซื้อที่ดิน,จำนองคอนโด,จำนองขายฝากรับจำนองบ้าน,รับจำนองที่ดิน,รับจำนองทาวน์เฮาส์,จำนองที่ดิน,นายทุน,นายทุนรับจำนอง,รับฝากขายบ้าน,นายทุนรับซื้อที่ดิน,จำนองคอนโด,จำนองขายฝาก,รับจำนองบ้าน,รับจำนองที่ดิน,รับจำนองทาวน์เฮาส์,จำนองที่ดิน,นายทุนนายทุนรับจำนอง,จำนองบ้านทาวน์เฮ้าส์,จำนองขายฝาก,ขายฝากคือ,ขายฝากบ้าน,ขายฝากที่ดิน,ขายฝากคอนโดฯ,ขายฝากอพาร์ทเม้นท์,นายทุน,นายทุนรับจำนอง,เงินกู้,เงินด่วน,เงินกู้ด่วน,บริการเงินด่วน,สินเชื่อเงินด่วน,สินเชื่อบ้านสินเชื่อธนาคาร,ธนาคาร,ข่าว,ลงประกาศฟรี,ประกาศขายบ้าน,ขายที่ดินขายคอนโดมิเนียม,ขายอพาร์ทเม้นท์,บ้านเดี่ยว

สะดวก รวดเร็ว ประหยัด ถูกต้อง ประทับใจ ติดต่อ. 087-000-5610